วันอาทิตย์ที่ 30 พฤศจิกายน พ.ศ. 2557

ที่รวมนักปั่นวันเสาร์ ที่ภูเก็ต




ดื่มกาแฟ บริการฟรี ยามเช้า
แม่กับลูกในทีมนักปั่น

    
   ช่วงเช้าทุกวันเสาร์ นักปั่นทั้งชายหญิงจะมาชุมนุมกันที่ปลายแหลมสะพานหิน ตรงจุดขายอุปกรณ์จักรยาน(วางเป็นแผงแบกะดิน อยู่คนละฝั่งถนนกับศาลเจ้าสะพานหิน) มีสินค้า ราคายุติธรรมมาวางจำหน่าย พร้อมกับมีกาแฟฟรีให้ดื่ม(จุดนี่น่าสนใจที่สุด)

เลือกดูสินค้ากันก่อน ตามสบาย 
ดื่มกิน..หลังจากซื้อ




ขาประจำวัเส่ร์

ขาแรง มาเป็นกลุ่ม



คุยกันหลังปั่น





      สะพานหินเป็นจุดขี่จักรยานที่ดีที่สุดในภูเก็ต ปลอดภัยด้วยช่องทางจักรยานกว้าง 2 เมตร ระยางยาว 1.5 กิโลเมตร เหมาะกับการปั่นผ่อนคลาย(หลังจากลากยาวจากที่อื่นมาแล้ว) เป็นจุดแวะพักของนักปั่นมือสมัครเล่น เป็นที่ให้ดื่มกาแฟ(ฟรี)ในขณะเดียวกัน ก็บริการจำหน่ายอุปกรณ์จักรยานในราคายุติธรรมไปด้วย(ราคาไม่ต้องต่อรองเพราะไม่ลดให้อีกแล้ว) 

    อย่าลืมช่วยอุดหนุนซื้อขนมพื้นเมือง มากินคู่กับกาแฟ แล้วจะพบว่า รสชาติกาแฟไม่ได้อยู่ที่แบรนด์กาแฟดัง แต่ขึ้นอยู่กับสภาพแวดล้อมของการดื่ม เพื่อนใหม่ ความหิว กับ กะเพาะว่างๆ จะช่วยให้ลิ้นสามารถรับรสชาติความอร่อยของอาหารได้ดีกว่าปรกติ ไม่เชื่อไปลองดูได้ ที่ปลายแหลมสะพานหิน 
    เฉพาะวันเสาร์ เวลา 7.00-9.00 น. โดยประมาณ


Entryนี้ มีสาระมาฝาก เห็นว่าน่าสนใจดีก็เลยนำมาแปะให้ดู รายละเอียดก็ดูตามที่อยู่ข้างล่าง

ข้อมูลจาก https://www.facebook.com/PandaBikeShop?fref=photo 



1. การควงขา หรือการปั่นจักรยาน ตำแหน่งของขาเราที่วางลงบนแป้นบันได ต้องพอดีระยะขาเราต้องไม่ยืดเหยียดจนตึงเกินไป จนทำให้เราต้องยืดขาลงมาเพื่อให้เท้าถึงบันได ทำให้กระดูกเชิงกรานขยับเลื่อนมาอยู่ตรงขอบเบาะ ซึ่งเวลาปั่นแล้วจะผิดตำแหน่ง

2.ตำแหน่งมือในการจับ Handlebar หรือ Hood สำหรับเสือหมอบ ตำแหน่งของข้อศอกต้องขยับเขยื้อนได้ ในส่วนของบ่าต้องไม่ตึงจนเกนไป ไม่ว่าเราจะจับอยู่ที่ตำแหน่งไหนของ แฮนด์จักรยาน หรือ กริ๊ป อวัยวะทั้งสองส่วนต้องอยู่ในท่าที่สบาย

3 ตรวจให้แน่ใจอีกครั้งว่า จักรยานที่เราขี่นั้นมีขนาดที่ถูกต้อง โดยการยืนคร่อม แล้วระยะเป้ากางเกงเราต้องห่างจากท่อนอนอย่างน้อย 1.5 นิ้ว เพราะเมื่อเกิดอุบัติเหตุ หรืออะไรก็ตามแต่ที่เราหลุดจากเบาะ ลงมายืนบนท่อนอน เป้าเราจะได้ไม่กระแทก

4.ปรับท่าก้มหมอบอย่างพอดี แม้การก้มมากๆอาจจะช่วยด้านอากาศพลศาสตร์ลู่ลม แต่มันอาจจะไม่เหมาะกับร่างกายเรา เลือกก้มแบบพอดีน่าจะดีกว่าจะได้ไม่รู้สึกปวดเมื่อยเกินไป

5.เมื่อปั่นแล้วพบอาการชา หรือเป็นเหน็บ ที่เท้าอย่านิ่งเฉยหรือละเลย ลองพยายามหาทางปรับรองเท้าของเราดูก่อน ไม่ว่าจะเป็นการปรับขยับพื้นรองเท้า หรือปรับตัว คลีทรองเท้าให้เลื่อนตำแหน่งใหม่ ไม่ว่าจะเลื่อนหน้าหลังหรือซ้ายขวาเพื่อหาตำแหน่งที่เหมาะสม

6.ต้องเข้าใจว่าร่างกายเราไม่ใช่สิ่งที่คงที่ครับ มันสามารถปรับเปลี่ยนได้ตลอดเวลา ตำแหน่งการนั่งบนจักรยานก็เช่นกัน มันก็มีหลายปัจจัยทางร่างกายเข้ามาเกี่ยวข้อง ดังนั้น ผู้ให้บริการจัดท่านั่งบนจักรยาน หรือ ฟิตเตอร์ ในต่างประเทศจึงมีการติดตามตรวจดูผลงาน ที่ทำให้ลูกค้าบางครั้งอาจจะมีการตรวจแบบรายปีให้

7.การปรับท่านั่งสำหรับการปั่นจักรยาน ไม่ใช่ว่าจะจัดครั้งเดียวแล้วจบ ในช่วงแรกอาจจะต้องมีการติดตามผลหลังจากการปรับท่านั่งไปแล้วภายในช่วงสามอาทิตย์ ดูว่ามีความรู้สึกหลังจากการปรับอย่างไรบ้าง ซึ่งกล้ามเนื้อคนเรา อาจจะต้องมีการปรับตัวเพื่อให้เข้ากับตำแหน่งการนั่งใหม่จากบรรดา ฟิตเตอร์ ดังนั้นก็จะต้องมีการติดตามผลงานกันเป็นระยะๆ เช่นกัน..

ข้อมูลอ้างอิง : bicycling.com
https://www.facebook.com/gadgetbikethailand

>>>>>>>>>>>>>>>>>>>>>>>>>>>>>>>>>>>>>>>>