ในเช้ามืดของวันที่ 2พฤษภาคม 2558 ดูจะไม่เหมาะกับการปั่นทริปต่ำกว่า100กิโลครั้งนี้เลย ฝนตั้งเค้าจะตกจนแผนเกือบถูกล้มเลิก แต่ก็ยังฝืนออกจากบ้านไปตามเส้นทางถนนเทพกระษัตตรีย์เพราะเผื่อเอาไว้ว่าถ้าฝนเทหนักกว่านี้จะระงับทริปนี้ทันที แต่เมื่อดั้นด้นปั่นมาจนถึงบ้านสะปำ ฝนก็ยังไม่ตกให้เป็นเรื่องเป็นราวเพื่อให้เป็นเหตุการระงับทริปนี้เสียที
ความเร็วช่วงเริ่มต้น เสือภูเขาเทียบเสือหมอบไม่ได้ตามเคย ปั่นตามกันมาจนเกือบถึงอนุสาวรีย์ท้าวเทพฯ(ระยะทาง 11 กิโลเมตร)ระบบหายใจของคนขี่เสือภูเขายังไม่เข้าที่ดีนัก ประกอบกับปั่นกันแค่สองคัน เมื่อคันหน้าปั่นเร็วคันหลังก็เลยต้องปั่นไล่ เสือภูเขาเสียเปรียบทั้งเรื่องของวัยและน้ำหนักรถจึงถูกเสือหมอบทิ้งห่างจนแทบมองไม่เห็นหลัง
มาถึงอนุสาวรีย์ ฝนเริ่มสาดเม็ดหนักขึ้น ต้องแวะพักฝนที่ศาลาที่พักผู้โดยสาร เป็นการปรับระยะห่างระหว่างเสือหมอบกับเสือภูเขาอีกครั้งและถืิโอกาสพักเหนื่อยไปในตัว ระยะทางเกือบ 60 กิโลที่อยู่ข้างหน้าคือปัญหาร่วมให้ขบคิดว่าจะขี่ฝ่าฝนไปได้อย่างไร
เมื่อฝนเริ่มซาเม็ดก็ออกเดินทางต่อ เสือหมอบคู่หนึ่งปั่นเลยหน้าไปด้วยควาเร็วสูงโดยไม่สนใจฝนข้างหน้า เราก็ปั่นตามหลังไปแบบเกือบจะสิ้นหวังกับฝนผิดฤดูครั้งนี้ แต่ฝนก็ซาเม็ดลงจนระยะทางในการปั่นเพิ่มขึ้นจนยากที่จะตัดสินใจล้มเลิก
มาถึงบ้านลิพอน ฝนลงเม็ดเบาๆ(ตกปรอยๆ)อีกครั้ง แต่ก็ยังไม่เป็นอุปสรรคในการปั่นมากนักจนเมื่อมาถึงถลางตอน 6โมง 15 นาที ฝนก็เริ่มตกหนักขึ้นจนต้องพักฝนกันอีกรอบจึงถือโอกาสกินข้าวเช้าระหว่างพักฝนที่นั่นเสียเลย
ในวันนั้นลูกค้ารายแรกของร้านจึงเป็นนักปั่นสองวัย แม้จะยังไม่หิวแต่ข้างหน้าคงไม่มีอะไรให้กินก็เลยต้องกินตามหน้าที่ เราใช้เวลากินข้าวร่วม 30นาที ฝนจึงเริ่มซาเม็ด การปั่นระยะที่สองจึงเริ่มต้นอีกครั้งด้วยท้องที่อิ่มและกำลังที่ฟื้นตัว ท้องฟ้าก็เริ่มสว่างจนสามารถปั่นโดยไม่ต้องใช้ไฟส่องทาง
เสือหมอบปั่นออกหน้่าไปก่อน เสือภูเขาก็ต้องปั่นไล่กวดตามหลังอย่างไม่หยุดยั้ง ฝนหยุดตกแล้วแต่น้ำจากฝนที่ยังค้างเจิ่งบนผิวถนนกลับเป็นปัญหาตอนปั่น ด้วยล้อแบบเสือภูเขาและไม่มีการ์ดกันโคลน ล้อหน้าจึงตะหวัดน้ำเข้าใส่หน้าขณะปั่นทำให้ไม่สามารถทำความเร็วได้ แต่เมื่อเลยบ้านเมืองใหม่มาแล้วถนนก็เริ่มแห้ง การเพิ่มความเร็วจึงทำได้มากขึ้น
เมื่อระยะทางปั่นเกิน 25 กิโลเมตรไปแล้ว ระบบการหายใจก็เริ่มเข้าที่ เสือภูเขาสามารถปั่นความเร็วคงที่ที่ความเร็วสูงได้ดีขึ้น เริ่มกวดเสือหมอบจนทัน ทั้งคู่ต่างปั่นเกาะกันมาที่ความเร็วประมาณ 30-32 กิโลเมตรต่อชั่วโมง การปั่นยืนระยะที่ความเร็วขนาดนี้ไม่มีปัญหากับระบบการหายใจสำหรับคนที่ปั่นเป็นประจำ
แม้จะรู้สึกเหนื่อยแต่ทั้งคู่ปั่นต่อไปโดยไม่พัก ขณะปั่นผ่านบ้านบางดุกก็ได้เห็นแสงอาทิตย์แรกของวัน นับเป็นการได้ใกล้ชิดธรรมชาติที่ีสัมผัสได้โดยตรง อากาศสดชื่นท่ามกลางแสงแดดยามเช้าทำให้รู้สึกได้ถึงความแตกต่างระหว่าง Sun rise กับ Sun set ขึ้นมาโดยทันที มันต่างกันในความรู้สึกจริงๆ
คนปั่นเสือหมอบเป็นคนหนุ่มที่เคยปั่นหนักมาก่อนแต่ด้วยภาระกิจการงานที่กรุงเทพฯทำให้ไม่ได้ฝึกซ้อมเป็นประจำจึงมีปัญหาในการยืนระยะที่ความเร็วระดับนี้ เสือหมอบจึงถูกเสือภูเขากวดติดอยู่ข้างหลังอย่างไม่ห่าง เมื่อมาถึงบ้านคอเอนก็ได้พบกับนักปั่นผู้สูงวัยอีกคนปั่นเสือภูเขา Merida mate ด้วยความเร็วเท่าๆกับเรา เราจึงได้เพื่อนร่วมทางเพิ่มอีกหนึ่ง
หลังจากได้ได้ทักทายบนหลังอานกันตามมารยาททั้งสามคันก็ได้ปั่นเกาะกลุ่มกันไป คนสูงวัยเร่งความเร็วขึ้นไปถึง 35 กิโลเมตร/ชั่วโมง ทำให้ทั้งเสือภูเขาและเสือหมอบจำต้องเร่งความเร็วตาม เมื่อเราต่างเร่งความเร็วเกินกว่า 32 กิโลเมตรต่อชั่วโมง เสือหมอบก็เริ่มถูกทิ้งห่างอยู่ข้างหลังหลายสิบเมตรทันที
เสือภูเขาทั้งสองคันปั่นที่ความเร็วคงที่ระดับนี้ไปประมาณ 5 กิโลเมตร สังเกตุเห็นว่าตอนปั่นลงเนินพร้อมๆกัน ผู้สูงวัยที่ใช้เสือภูเขาจะพักขาผ่อนแรงได้ ส่วน Trex 4300ต้องเติมแรงปั่นตลอดเพื่อจะเกาะหลังให้ทัน ทั้งคู่ปั่นไปด้วยกันจนถึงด่านตรวจภูเก็ต Trex 4300 ก็ยอมปล่อยให้ Merida ปั่นล่วงหน้าไปก่อนเพื่อคอยเสือหมอบที่ตามมาข้างหลัง
จอดพักเหนื่อยที่ด่านตรวจฯประมาณ 10 นาที ก่อนจะเดินทางต่อไปยังจุดชมวิวสารสินในอีก 5 นาทีต่อมา มีนักปั่นคู่หนึ่งปั่นขึ้นสะพานข้ามไปฝั่งพังงา อีกคู่หนึ่งพักเหนื่อยอยู่บนจุดชมวิว คู่ที่อยู่บนจุดชมวิวปั่นมาจากบ้านลิพอนและมีแผนจะไปปั่นในรายการของโรงเรียนเทศบาลปลูกปัญญาคืนนี้ คุยแลกเปลี่ยนประสพการประมาณ 10 นาทีและถ่ายรูปร่วมกันก่อนจะกล่าวคำอำลาแยกย้ายกันไป เรามุ่งไปพังงาส่วนคนหนุ่มคู่นั้นกลับภูเก็ตทันที
![]() |
หมอบMerida กำลังปั่นข้ามสะพานไปฝั่งพังงา |
![]() |
Welcome to Phang- nga |
ถึงบ้านต้นแซะ(ทีคนไม่รู้จัก)
เสือภูเขาออกตัวก่อนตามเคย รีบปั่นเร็วเพื่อหนีการไล่ตามของเสือหมอบจนมาถึงบ้านต้นแซะจึงจอดใต้ต้นไม้เก่าที่เหลือเพียงไม่กี่ต้น พร้อมกับถือโอกาสถ่ายรูปเป็นการพักหนื่อยไปในตัว
บ้านต้นแซะเป็นชุมชนเล็กๆอยู่ริมถนนสาย402ห่างจากบ้านท่านุ่นประมาณ 3 กิโลเมตร เหตุที่ชื่อต้นแซะ ก็เพราะในอดีตมีต้นไม้ที่ชื่อต้นแซะขึ้นอยู้บริเวณนี้อยู่มาก ต้นแซะเป็นไม้ยืนต้นขนาดใหญ่อายุนับร้อยปี แต่ต้นแซะริมถนนหลวงเส้นนี้ ถูกตัดโค่นจนเหลือแค่ 13 ต้นพอให้ได้เห็นเป็นตำนานของป่าแซะริมถนนสายใต้ฝั่งทะเลตะวันตก
![]() |
Kant ปั่นตามมาถึงต้นแซะอย่างไม่ลดละ |
![]() |
ต้นแซะ ริมถนนที่บ้านต้นแซะ |
17 กิโลสุดท้าย
แวะพักที่เซเว่นอีเลเว่นโคกกลอย กินทุกอย่างที่ขวางหน้าไม่ว่าข้าวกระเพรา แซนด์วิชสารพัดแบบที่นำเสนอและทีขาดไม่ได้คือซาละเปาไส้หมูแดง เป็นการกินชดเชยพลังงานทีถูกเผาผลาญไประหว่างทาง
![]() |
Kant กำลังกินไปพลางยืดขาไปพลางแบบหมดสภาพที่โคกกลอย |
![]() |
ถนนเส้นสวยที่นาใต้ โคกกลอย |
![]() |
บรรยากาศริมทะเลระหว่างเส้นทางท่าไทร ถ่ายขณะปั่นจักรยาน |
![]() |
Kant แวะถ่ายรูป |
หาดท่าไทรทุกวันนี้เป็นที่รู้จักของคนทั่วไปมากขึ้นเพราะนอกจากจะเป็นหาดที่เงียบสงบสวยงามแล้ว ทุกวันนี้ยังเป็นที่ตั้งของวัดท่าไทร ซึ่งเป็นวัดธรรมยุติในสายของหลวงปู่เทสก์ สภาพของวัดสะอาดเป็นระเบียบ อาคารสร้างด้วยวัสดุเรียบง่ายแต่เด่นสง่าด้วยโบสถ์ไม้สักรูปแบบสมัยใหม่ที่มีเสาเป็นไม้ทั้งต้น ปัจจุบันวัดท่าไทรมีไฟฟ้าเข้าถึง มีพระสงฆ์นิกายธรรมยุติพำนักอยู่ไม่กี่รูป จัดเป็นวัดที่เงียบสงบแม้จะอยู่ห่างไกลจากชุมชนไปบ้างแต่ก็น่ามาทำบุญที่วัดนี้
![]() |
โบสถ์ไม้ วัดท่าไทร |
อยากอาบน้ำที่วัดท่าไทรแต่ก็เกรงใจ ด้วยน้ำที่นั่นหายากจึงทำได้แค่ล้างหน้าและเอาน้ำราดศีรษะจนโชกแล้วมานอนพักเหนื่อยบนชายหาดจนได้เวลากลับ นำจักรยานใส่ท้ายกะบะแล้วขับกลับภูเก็ตตอน 4โมงเย็นพอดี