วันอังคารที่ 18 สิงหาคม พ.ศ. 2558

ปั่นแบบ Cool down

    ในวงการกีฬาทั้งประเภทอาชีพและประเภทสมัครเล่นครูฝึกจะมีโปรแกรม Warm up หรืออบอุ่นร่างกายก่อนและหลังจากการเสร็จสิ้นการฝึกซ้อมก็จะต้องมีการ Cool down หรือการผ่อนคลายกล้ามเนื้อตามมาทุกครั้งเช่นกัน สิ่งเหล่านี้คือข้อปฏิบัติที่นักกีฬาทุกประเภทได้ปฏิบัติกันจนเป็นระบบ

    ในวงการปั่นจักรยานก็ไม่ควรมีข้อยกเว้นต่อวัฏปฏิบัติเหล่านี้ ...น่าเสียดาย....แม้จะรู้ดีว่าการอบอุ่นร่างกายจะเป็นสิ่งจำเป็นแต่นักปั่นจักรยานสมัครเล่นส่วนใหญ่ก็ยังไม่ค่อยเห็นความสำคัญ

  จากบทความก่อนหน้า ตอน "ขี่ถอยหลัง" ซึ่งเป็นการบ่นกับตัวเองเกี่ยวกับการไม่มีพัฒนาการในการขี่จักรยานเอาเสียเลย.. เนื่องจากคนทั่วไปมักจะนิยมปั่นกันเป็นกลุ่ม แม้จะเป็นระยะทางที่ไม่ไกลมากนักก็ต้องปั่นกันค่อนข้างหนักเพื่อจะเกาะกลุ่มกันให้ได้ซึ่งเส้นทางปั่นในประเทศไทยส่วนใหญ่เป็นเส้นทางขึ้นเนินลงเนินคละเคล้ากันไปกับเส้นทางราบ ผลลัพธ์ที่ได้คือไม่ว่าจะซ้อมปั่นต่อเนื่องมาแล้วมากี่วัน กล้ามเนื้อหน้าขามักจะคงอาการปวดเมื่อยตึงอยู่ตลอดเวลา แต่ถ้าได้หยุดพักประมาณ1สัปดาห์อาการเมื่อยตึงก็จะหายไป แต่เมื่อกลับมาปั่นซ้ำอาการดังกล่าวก็กลับมาอีก ผู้รู้หลายท่านบอกว่าอาการดังกล่าวเกิดจากการไม่อบอุ่นร่างกายเพื่อกระตุ้นกล้ามเนื้อก่อนออกปั่นหนัก

    ผลการสังเกตุจากการปั่นแบบไม่อบอุ่นร่างกาย
1 การปั่นจะไม่มีพัฒนาการแม้จะปั่นต่อเนื่องกันนานเท่าไรก็ตาม
2 จะมีอาการปวดเมื่อยตึงหน้าขาทุกครั้งที่ปั่นขึ้นเนินหรือเร่งความเร็ว
3 ความแข็งแรงของกล้ามเนื้อจะล้าและบาดเจ็บได้ง่าย
4 ไม่สามารถทำเวลาเฉลี่ยได้ดีขึ้นไม่ว่าจะปั่นเป็นเวลานานเท่าไร

  เมื่อมาทบทวนดูแล้วก็เริ่มจะคิดได้ว่า ตัวเองเป็นคนที่ไม่มีวินัย ไม่ทำตามขั้นตอนตามคำแนะนำ ทุกครั้งที่ได้จับจักรยาน จะปั่นเร็วทันที อาการดังกล่าวจะเกิดขึ้นทันทีเช่นกัน ถึงแม้จะปรับเปลี่ยนการปั่นแบบออกตัวเบาๆสบายๆในระยะทางประมาณ5กิโลเมตรที่อาจจะจะถือได้ว่าเป็นการ Warm up ก็ตาม แต่ก็ยังไม่เพียงพอสำหรับการกระตุ้นกล้ามเนื้อให้ตื่นตัวเพื่อรับงานปั่นหนักๆ สำหรับนักปั่นสมัครเล่นส่วนใหญ่ะเริ่มอัดหนักทันที หลังจากการปั่นแบบเบาๆ5กิโลเมตรแรกไปแล้ว การปั่นเป็นกลุ่มบางครั้งก็ต้องขึ้นโยกปั่นตอนขึ้นเนินหรือต้องเร่งรอบขาเพื่อตามกลุ่มให้ทันจึงเกิดความเหนื่อยล้าและปวดกล้ามเนื้อแทบทุกส่วนโดยเฉพาะกล้ามเนื้อต้นขา 

     วันนี้(18สิงหาคม 2558)ได้ลองปรับเปลี่ยนมาปั่นเดี่ยวแบบไม่รีบร้อนใช้เกียร์ที่เหมาะกับรอบขาไม่โหมเร่งแบบบีบกล้ามเนื้อ ผลที่ได้คือไม่เหนื่อยและไม่มีอาการบาดเจ็บเพิ่มขึ้น อาการตึงหน้าขาที่ผ่านมาก็หายไปเหมือนไม่เคยปวดมาก่อน

    การปั่นแบบเบาๆอาจอนุโลมได้ว่าเป็นการอบอุ่นร่างกาย เป็นการช่วยกระตุ้นให้กล้ามเนื่้อตื่นตัวแบบค่อยเป็นค่อยไปทำให้กล้ามเนื้อส่วนที่ตึงเครียดมานานได้ผ่อนคลายจนสามารถปั่นได้สบายขึ้น แม้เวลาเฉลี่ยจะต่ำลงมาบ้างแต่ก็ไม่มากนัก สรุปได้ว่าการปั่นแบบนี้ช่วยทั้งการ Warm up และ Coll down ไปในตัว ผลที่ได้คือ กล้ามเนื้อไม่ระบมและมีความกระฉับกระเฉงขึ้นกว่าเดิม..

    แม้ว่าวิธีการปั่นแบบ Warm upที่ผ่านมาจะให้ผลลัพธ์ที่ดีพอสมควร แต่ขอเสนอแนะว่าก่อนจะออกไปปั่นจักรยานทุกครั้ง ควรจะแบ่งเวลามาอบอุ่นร่างกายก่อนจะเป็นการดี ขั้นตอนและวิธีการอบอุ่นร่างกายให้ดูคำแนะนำ จาก  How to Stretch Before Bicycle Rides 
 

    ภาพข้างล่าง เป็นขั้นตอนการ Warm up ที่แปลจาก How to Stretch Before Bicycle Rides  http://www.livestrong.com/article/461882-how-to-stretch-before-bicycle-rides/ โดยช้ภาพเปรียบเทียบจาก google ที่จัดทำโดยโดยคุณเชษฐ์353   http://pantip.com/topic/31710549



วิ่งเหยาะๆกับที่



ยืดกล้ามเนื้อขาด้านหน้า



ก้ม ยืดกล้ามเนื้อหลังขา



บิด ยืดกล้ามเนื้อหัวเข่า



ยืดกล้ามเนื้อต้นขาด้านใน


ยืดกล้ามเนื้อสะโพกและหลังส่วนล่าง


มือยันฝาผนัง เพื่อยืดกล้ามเนื้อน่องและเอ็นร้อยหวาย


ดึงบาร์ ยืดบ่า ไหล่และหลังส่วนบน

วันอาทิตย์ที่ 16 สิงหาคม พ.ศ. 2558

Bike for mom ที่ภูเก็ต


ป้ายกิจกรรมที่โรงเรียนเทศบาล2 กะทู้


  ผ่านไปอีกหนึ่งรายการสำคัญ ขอแสดงความยินดีกับคนที่มีโอกาสไปร่วมปั่นพร้อมกัน ทั้งประเทศมีผู้มาร่วมประมาณสองแสนเก้าหมื่นสี่พันคนเศษแต่ได้มีโอกาสเข้าร่วมลงทะเบียนบันทึกการทำสถิติกินเนสบุ๊คจำนวน 1.46แสนคนจากคนที่ลงชื่อเข้าร่วมปั่นจำนวน 2.94แสนคน ได้ทำลายสถิติที่ไต้หวันเคยทำไว้อย่างราบคาบสวยงามแบบไม่มีที่ติ นับได้ว่าเป็นรายการปั่นที่มีผู้เข้าร่วมปั่นมากที่สุดเท่าที่เคยจัดมา


ประกาศนียบัตรรับรองจากกินเนส



สกายรีพอร์ท

     ที่ภูเก็ตมีผู้ลงทะเบียนเข้าร่วมทำสถิติลงกินเนสบุ๊คจำนวน หนึ่งพันสองร้อยรายชื่อแต่ได้เข้ามารับบาร์โค๊กจำนวน 1,125รายชื่อ ส่วนที่เหลืออีกราวๆสี่พันคันไม่ได้ร่วมลงทะเบียนก็เลยได้ปั่นสบายๆฟรีสไตล์แบบนักปั่นไม้ประดับไม่มีบาร์โค๊ดที่ต้องรับผิดชอบจึงไม่ต้องเข้ารูปขบวนเหมือนกับขบวนเก็บสถิติ


ฝรั่งอายุ73 ก็มาร่วมด้วย

    เมื่อทุกคนได้มาพร้อมกันที่ศาลากลางจังหวัดแล้วก็ต้องคอยการถ่ายทอดประธานในพิธี(สมเด็จพระบรมฯ)ทำพิธีเปิดที่มีการถ่ายทอดสดไปทุกจังหวัดทั่วประเทศ ในขณะที่บนท้องฟ้าเหนือศาลากลางจังหวัดภูเก็ตมีเฮลิคอปเตอร์ของสกายรีพอร์ทบินวนถ่ายอยู่หลายรอบ เหล่านักปั่นต่างโบกมือทักทายนักข่าวที่อยู่บนท้องฟ้ากันเป็นที่สนุกสนาน


ที่กรุงเทพฯ..สมเด็จพระบรมฯและนายกรัฐมนตรีนำขบวนในการปั่นครั้งนี้


ที่ภูเก็ต..ชุดนักปั่นขบวนสุดท้ายกำลังรอการปล่อยตัวด้วยใจจดจ่อ

     การปล่อยขบวนเริ่มเมื่อเวลาประมาณ15.30น. ซึ่งเป็นเวลาที่แดดกำลังร้อนได้ที่ การจัดขบวนแบ่งออกเป็น5 ขบวน เข้าร่วมทำสถิติกินเนส 4 ขบวน จัดขบวนภายใตเขตรั้วของศาลสกลาง ส่วนขบวนที่5ไม่มีการบันทึกจึงถูกปล่อยเป็นขบวนสุดท้ายในเวลาประมาณ16.00น เมื่อขบวนสุดท้ายถูกปล่อยออกจากจุดปล่อยตัว ทุกคันต่างก็ปั่นแบบเสรีไม่มีการจัดรูปขบวน จึงปั่นกันสนุกเป็นพิเศษ


ดูใกล้ๆ... ทีมนักปั่นไม้ประดับขบวนที่5 (ไม่ได้ร่วมทำสถิติกินเนส)


ขบวนที่ 1- 4 ออกจากจุดปล่อยตัว หลังเวลา15.30 ไปแล้ว

     ระหว่างการปั่น ทุกอย่างเป็นไปด้วยความเรียบร้อย มีการรักษาความปลอดภัยและอำนวยความสะดวกให้กับนักปั่นเป็นอย่างดี มีการปิดถนนทุกแยกที่ขบวนผ่าน มีแถวนักเรียนและประชาชนมายืนโบกธงให้กำลังใจตั้งแต่โรงเรียนสตรีภูเก็ต โรงเรียนดาราสมุทร มาตลอดเส้นทาง ทำให้นักปั่นแต่ละคนเกิดความรู้สึกคึกคักเหมือนเป็นบุคคลสำคัญเลยทีเดียว ขบวนจักรยานแตะละขบวนจะมีช่วงระยะห่างโดยการปล่อยห่างกันประมาณขบวนละ 10นาที ใช้เวลาร่วม 40นาทีตั้งแต่หัวขบวนถึงท้ายขบวน ทุกคันปั่นด้วยความเร็วคงที่ไม่รีบเร่งมากนัก ขบวนที่ทำสถิติกินเนสได้ไปหย่อนสติกเกอร์บาร์โค๊ดที่หน้าห้างแมคโคร จุดนี้มีน้ำเย็นให้บริการให้กับทุกคน
    การปั่นเป็นไปด้วยความราบรื่นจนถึงจุดพักที่โรงเรียนเทศบาล2 อำเภอกะทู้ ทางเข้าโรงเรียนเป็นทางแคบๆกว้างประมาณ1ช่องจราจร จักรยานทุกคันจึงต้องจูงเข้าไปในโรงเรียนอันเป็นจุดพัก จุดพักที่กระทู้ มีน้ำและขนมไว้คอยบริการนักปั่นกันอย่างถ้วนหน้า และที่นั่นได้มีพิธีเฉลิมพระเกียรติแก่องค์สมเด็จพระราชินีโดยมีนักปั่นวีไอพีที่ประกอบด้วยท่านผู้ว่าราชการจังหวัดเป็นหัวขบวนตามด้วยหัวหน้าส่วนราชการชั้นผู้ใหญ่ของจังหวัด ทำการปลูกต้นไม้ จำนวน 83 ต้น


ท่ามกลางการต้อนรับของนักเรียนโรงเรียนเทศบาล2 อ.กะทู้..น่ารักมาก


พันธุ์ไม้ 83 ต้น ปลูกในพิธี
แขกV.I.P ปลุกต้นไม้เพื่อเฉลิมพระเกียรติ สมเด็จพระบรมราชินี





ตำรวจท่องเที่ยวก็มาร่วมปั่นด้วย

    ใช้เวลาพักที่จุดพักโรงเรียนเทศบาล2กะทู้ประมาณ50นาที ก็ถึงกำหนดออกจากจุดพัก แดดก็เริ่มจะร่ม นักปั่นต่างปั่นกันแบบสบายๆมาตามเส้นทางกะทู้-เก็ตโฮ่ มาตามทิศทางเป็นวงกลมตามเข็มนาฬิกากลับเส้นทางเดิมมาถึง สี่แยกเซ็นทรัล-โรงเรียนดาราสมุทรก็เลี้ยวขวาไปทางถนนเจ้าฟ้าตะวันตกจนมาถึงสามแยกนาคา-สวนหลวง ก็เลี่ยวซ้ายปั่นมาตามเส้นทางเรียบสวนหลวงฯด้านทิศใต้ มาออกที่สี่แยกโรงเรียนดาวรุ่งวิทยาแล้วปั่นกลับจุดสิ้นสุดที่สะพานหินโดยผ่านเส้นทางท่าแครง-โรงเรียนเฉลิมพระเกียรติฯ




เส้นชัยที่สะพานหิน

พิธีมอบธงชาติให้หัวหน้าส่วนราชการ

  ถึงจุดสิ้นสุดที่สนามฟุตบอล ศูนย์กีฬาสะพานหิน ประมาณ 17.40 น.มีน้ำดื่มพระราชทานและผลไม้ประเภทกล้วยไว้บริการ ทางคณะผู้จัดได้ทำพิธีปิดเมื่อเวลา 18.00น. โดยมีพิธีมอบธงชาติให้กับหัวหน้าส่วนราชการ นอกนั้นก็ไม่มีอะไรพิเศษ ต่างคนต่างก็แยกย้ายกันกลับตามอัธยาศัย

วันเสาร์ที่ 15 สิงหาคม พ.ศ. 2558

ขี่ถอยหลัง



 คงไม่มีใครเคยเห็นจักรยานคันไหนมีเกียร์ถอยหลังเพราะไม่จำเป็นต้องมี ที่ผมบอกว่าขี่ถอยหลัง หมายถึงยิ่งซ้อมมากก็ยิ่งแย่ลง ไม่มีพัฒนาการ ไปไม่ถึงไหน ปั่นซ้อมหนักเท่าไรก็ยังตามเขาไม่ค่อยจะทัน จนต้อง"เดี่ยวรถถีบ"ต่อเนื่องมาหลายเดือนและมีแนวโน้มจะ"ตลอดไป"
 เคย "คิดเอาเอง" เล่นๆว่า เสน่ห์ของนักปั่นอยู่ตรงไหน หรือมีอะไรเป็นองค์ประกอบ
 
   1  แข็งแรงดูดี
   2 อัธยาศัยดีคอยให้ความช่วยเหลือคนอื่น(ด้วยท่าทีความกระตือรือร้นและจริงใจ)
   2 มีรถดี แพง สวยแตะตา
   3 เป็นหัวลากตลอด
   4 มีอุปกรณ์คอยช่วยเหลือเพื่อนร่วมทางพร้อมมูล
   5 อายุไม่มากเกินไปที่จะมีเพื่อร่วมรุ่นแบบปั่นตามกันทันไม่เป็นภาระ
   6 ขยันปั่นเป็นกลุ่มและร่วมกิจกรรมสม่ำเสมอ
   7 คมทั้งในฝักแลพนอกฝัก(เก่งทั้งปั่นทั้งคุย)
 ผมเองหาเท่าไรก็ไม่มีสักข้อ

สาเหตุสำคัญน่าจะมาจากการไม่มีสังคม ไม่มีทั้งเวลาข้อสำคัญไม่ได้ออกไปปั่นอย่างสม่ำเสมอและไม่มีโปรแกรมการฝึกที่ถุกต้อง ยิ่งภาคใต้แทบทุกจังหวัดจะอุดมไปด้วยฝนตอนฤดูฝน โดยเฉพาะที่พังงาและภูเก็ต หลังจากเดือนมิถุนายนไปแล้ว ฝนแต่ละวันจะเอาแน่เอานอนไม่ค่อยจะได้ ดังนั้นเมื่อมีช่วงระยะเวลาที่ไม่มีฝนตก นักปั่นส่วนใหญ่จะใช้เวลาช่วงนี้เป็นช่วงเอาคืน ผมเองก็ไม่เว้น จะปั่นในช่วงฝนเว้นจังหวะตกที่ติดต่อกันหลายวัน ผลที่ได้คือยิ่งปั่นยิ่งล้าและไม่ทำให้กล้ามเนื้อแข็งแรงขึ้นกว่าเดิม
   มานั่งวิเคราะห์และอ่านจากข้อเขียนของนักปั่นอาชีพดูแล้วก็เลยเข้าใจได้ว่าเรามีจุดอ่อนหลายอย่างตามลักษณะการปฏิบัติ เช่น
    ชอบปั่นคนเดียวเพราะเข้ากลุ่มกับคนอื่นไม่ได้ ชอบขี่เกาะหลังคนอื่นเพราะเป็นผู้นำไม่ไหวเนื่องจากไม่มีความมั่นใจในความแข็งแรงและมักจะปั่นอัดจนหมดแรง
  ผมได้ถึงบางอ้อเมื่อได้อ่านเนื้อหาเกี่ยวกับจากจักรยานในเว็ปไซด์หนึ่งเห็นว่ามีประโยชน์มากจึงคัดลอกมาฝาก


Cite: http://www.thaimtb.com/forum/viewtopic.php?f=432&t=802573
        http://www.udonbikes.com/forum/index.php?topic=442.0

วันอาทิตย์ที่ 9 สิงหาคม พ.ศ. 2558

รายการปั่นเพื่อแม่ กับจักรยานเพื่อชาติ

   เป็นอีกครั้งที่วงการจักรยานคึกคักเป็นพิเศษที่งานนี้ได้รับพระมหากรุณาธิคุณจากสมเด็จพระบรมฯมาเป็นองค์ประธานในรายการปั่นเพื่อแม่ครั้งนี้ เป็นนิมิตรหมายที่ดีว่าการวงการจักรยานจะมีอนาคตที่สดใส
    จากการที่รัฐบาลมีภาระต้องรับผิดชอบต่อสุขภาพอนามัยของประชากรที่นับวันมีแต่จะสูงขึ้นทุกวันอันเป็นการสวนทางกับนโยบายสุขภาพดีถ้วนหน้าของรัฐบาลที่ประสพผลตั้งแต่ตั้งแต่ปี 2543 ทั้งนี้ นโยบายด้านสาธารณสุขในอดีตมุ่งจะส่งเสริมด้านโภชนาการและการรักษาโรคที่เกิดจากภายนอกหรือภาวะการติดเชื้อเป็นส่วนใหญ่
     ด้วยภาวะสังคมอิ่มหมีพีมันทำให้โรคของคนไทยเปลี่ยนไป จากโรคผอมแห้งแรงน้อยพุงโรก้นปอดมาเป็นโรคอ้วนจากการกินอุดมสมบูรณ์จนเกิดปัญหาโรคเบาหวาน หัวใจ ไต ตับซึ่งล้วนเกิดจากภาวะการทุโภชนาการจากการบริโภคอาหารไม่ถูกส่วน มีสารปนเปื้อนหรือจากการเสพสารเสพติดให้โทษ ที่กล่าวมาทั้งหมดน่าจะเป็นหน้าที่ของหมอที่ต้องมามาพูดมาคุยแต่หมอส่วนใหญ่จะไม่ช่างพูดเอาแต่ตรวจและจ่ายยารักษาตามอาการ ก็น่าเห็นใจที่คุณหมอมีเวลาให้กับคนไข้ไม่เกินคนละห้านาทีหมอก็ต้องทำหน้าที่ตามเหตเฉพาะหน้า จึงเป็นเป็นหน้าที่ของคนไข้เองที่จะต้องคอยดูแลสุขภาพกันเอาเอง
    ในยุคสังคมผู้สูงอายุ ปัญหาใหญ่ของทุกรัฐบาลคือปัญหาการดูแลสุขภาพ ถ้าประชากรมีอายุที่ยืนขึ้นแต่สุขภาพไม่ดีก็จะเป็นภาระให้กับรัฐบาล ดังนั้นการมีอายุยืนก็ต้องต้องควบคู่ไปกับการมีสุขภาพที่ดีทั้งกายและจิตใจ การมีปัญหาสุขภาพคือปัญหาของประเทศ รัฐบาลย่อมต้องหาทางแก้ปัญหานี้ให้ตกให้จงได้
    เริ่มจากการดูแลสุขภาพ ก็ต้องเปลี่ยนจากระบบMaintenance มาเป็นระบบ Preventive Maintenance คือการดูและสุขภาพตั้งแต่ยังไม่เกิดการเจ็บป่วย
    การ Preventive Maintenance ด้านสุขภาพ ทำได้ง่ายๆโดยการออกกำลังกายเป็นประจำควบคู่ไปกับการตรวจสุขภาพประจำปี แนวคิดการการปั่นจักรยานคือทางเลือกที่ดีในการออกกำลังกายเพื่อสุขภาพ ผลประโยชน์จากการปั่นจักรยานอย่างน้อยที่สุดคือการได้มีสังคมช่วงสูงวัยควบคู่ไปกับการได้ออกกำลังกายข้อสำคัญคือประหยัดและช่วยลดมลภาวะทางอากาศเป็นอย่างดี

       มาดูงบประมาณผลาญประเทศกันบ้าง
  งบประมาณที่มากที่สุดคืองบกระทรวงศึกษาธิการ อันนี้ก็ไม่ว่ากันเพราะการสร้างคนคือการสร้างชาติเป็นการลงทุนที่คุ้มค่า แต่งบกระทรวงสาธารณสุขคืองบที่ไม่ก่อให้เกิดรายได้และไม่สามารถสร้างกำไร จะจัดการกับมันยังไงดี



      เห็นทีรัฐบาลโดยกระทรวงสารณสุขและกระทรวงคมนาคมควรจะหันมาร่วมกันกำหนดนโยบาย "ประชาชนแข็งแรงชาติเข้มแข็ง" จะทำอย่างไรให้ประชาชนมีสุขภาพดีและไม่เป็นภาระกับงบประมาณ หนึ่ง ในสิบของงบประมาณแต่ละปีหมดไปกับงานสาธารณสุขในประเทศ        
         งบประมาณกระทรวงสารณะสุขปี 2558
    1 ค่าใช้จ่ายในการรักษาพยาบาลข้าราชการ ลูกจ้าง และพนักงานของรัฐ               60,000.0 ล้านบาท
    2 แผนงานพัฒนาด้านสาธารณสุข                                                                        227.6 ล้านบาท
    3 ในส่วนสำนักงานประกันสังคม (แผนงานพัฒนาระบบประกันสุขภาพ)               12,000.0  ล้านบาท
   4.สำนักงานปลัดกระทรวงสาธารณสุข(สป.สธ.)                                                  90,223.9 ล้าน บาท
   5.กรมการแพทย์                                                                                               5,922.5 ล้านบาท
   6.กรมควบคุมโรค                                                                                             3,750.3 ล้านบาท
   7.กรมพัฒนาการแพทย์แผนไทยและการแพทย์ทางเลือก                                      300.7 ล้านบาท
   8.กรมวิทยาศาสตร์การแพทย์                                                                           1,192.4 ล้านบาท
   9.กรมสนับสนุนบริการสุขภาพ                                                                          1,040.1  ล้านบาท
   10.กรมสุขภาพจิต                                                                                             2,650.6 ล้านบาท
   11.กรมอนามัย                                                                                                 1,876.4 ล้านบาท
   12. สำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา(อย.)                                                   797.6   ล้านบาท
   13.สถาบันวิจัยระบบสาธารณสุข(สวรส.)                                                                85.4   ล้านบาท
   14.สำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ(สปสช.)                                              1,427.1 ล้านบาท
   15.สถาบันการแพทย์ฉุกเฉินแห่งชาติ(สพฉ.)                                                         186.3  ล้านบาท
   16.โรงพยาบาลบ้านแพ้ว (องค์การมหาชน)                                                             37.8  ล้านบาท
   17.สถาบันรับรองคุณภาพสถานพยาบาล(องค์การมหาชน) (สรพ.)                           97.7  ล้านบาท
   15.สถาบันวัคซีนแห่งชาติ(องค์การมหาชน)                                                               69   ล้านบาท
   18 กองทุนหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ                                                           114,963ิ  ล้านบาท 
   19 กองทุนการแพทย์ฉุกเฉิน                                                                                 790  ล้านบาท
       ซึ่งทั้งหมดรวมเป็นงบประมาณด้านสาธารณสุขทั้งสิ้น                                    2.8  แสนล้านบาท 


      จากงบประมาณปี 2558 จำนวน 2.5 ล้านล้านบาทที่ถูกแบ่งเป็นงบของกระทรวงสารณสุขถึง 2.8แสนล้านบาทและมีแนวโน้มที่จะเพิ่มขึ้นไปเรื่อยๆ หากเหตการณ์ยังเป็นเช่นนี้ต่อไป รับบาลคงจะประสพความยุ่งยากในการจัดสรรงบประมาณมาใช้กับนโยบายสุขภาพดีถ้วนหน้า(ที่มีมาตั้งแต่ปี2543) ดังนั้นการส่งเสริมให้ประชากรในชาติมีสุขภาพที่แข็งแรงคือทางออกที่ง่ายและเป็นไปได้ที่เร่งด่วนและคุ้มค่าที่สุด 
       ในการส่งเสริมให้คนในชาติหันมาใช้จักรยานให้แพร่หลายไปทั่วประเทศไม่เฉพาะแต่เพื่อการออกกำลังกายเท่านั้นแต่ต้องส่งเสริมให้มีการใช้จักรยานเพื่อการสัญจรไปมาในระยะทางใกล้ๆด้วย ทำแค่นี้รัฐบาลก็จะประหยัดงบประมาณทางสาธารณสุข ประหยัดทั้งเงินตราต่างประเทศในการซื้อหาพลังานเชื้อเพลิงและยังเป็นการช่วยลดมลภาวะทางอากาศ นโยบายถนนสำหรับจักรยานควรถูกบรรจุในงบประมาณประจำปีของทั้งกระทรวงคมนาคมและกระทรวงสารณสุข

Cite: http://www.hfocus.org/content/2014/11/8550